Archive | ธันวาคม 2011

การเฉลิมฉลอง

วันคริสต์มาสได้รับการเฉลิมฉลองเป็นเทศกาลหลักและเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก รวมไปถึงประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มิใช่คริสเตียน ในบางประเทศที่มิใช่คริสเตียน คริสต์มาสได้ถูกนำเข้าสู่วัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ ระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบอาณานิคม (เช่น ฮ่องกง) ส่วนในประเทศอื่น ประชากรค่อย ๆ รับเอาการเฉลิมฉลองของชนกลุ่มน้อยคริสเตียนหรืออิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างประเทศ ในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งคริสต์มาสได้รับความนิยมแม้ว่าจะมีประชากรนับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนน้อย ได้รับเอามุมมองทางโลกของคริสต์มาสหลายอย่าง เช่น การให้ของขวัญ การตกแต่งอาคารสถานที่ และต้นคริสต์มาส ประเทศที่ซึ่งคริสต์มาสไม่ใช่วันหยุดราชการ ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย อัลจีเรีย ไทย เนปาล อิหร่าน ตุรกี และเกาหลีเหนือ การเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสรอบโลกอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติ

ในกลุ่มประเทศที่มีประเพณีคริสเตียนมั่นคง การเฉลิมฉลองคริสต์มาสที่มีความหลากหลายได้รับการปรับปรุงกระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาค สำหรับคริสเตียน การเข้าร่วมในศาสนพิธีถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการยอมรับเทศกาลดังกล่าว คริสต์มาส ตลอดจนเทศกาลอีสเตอร์ เป็นช่วงเวลาที่มีคนเข้าโบสถ์มากที่สุดในแต่ละปี ในประเทศคาทอลิก ประชากรจัดการเดินขบวนทางศาสนาหรือขบวนแห่ก่อนคริสต์มาส ในประเทศอื่น ได้มีการจัดการเดินขบวนทางโลกหรือขบวนแห่ซึ่งนำเสนอซานตาคลอสและสัญลักษณ์ของเทศกาลอื่น ๆ ซึ่งมักจัดขึ้นบ่อยครั้ง การกลับมาพบปะกันของครอบครัวและการแลกของขวัญได้กลายมาเป็นลักษณะเด่นของเทศกาลที่มีอย่างกว้างขวาง การให้ของขวัญเป็นประเพณีที่มีในประเทศส่วนใหญ่ ส่วนวันอื่นที่มีการแลกของขวัญ ได้แก่ วันนักบุญนิโคลัส ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม และการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ ตรงกับวันที่ 6 มกราคม

[แก้]วันที่จัดเทศกาล

เป็นเวลาหลายศตวรรษ นักเขียนคริสเตียนยอมรับว่าคริสต์มาสเป็นวันประสูติของพระเยซูที่ถูกต้อง จนกระทั่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิชาการได้เริ่มต้นเสนอคำอธิบายอย่างอื่นแทน ไอแซก นิวตัน ได้แย้งว่า วันที่จัดเทศกาลคริสต์มาสเป็นไปตามเหมายัน ซึ่งชาวโรมันเรียกว่า บรูมา และจัดงานเฉลิมฉลองในวันที่ 25 อ่านเพิ่มเติม

วันพ่อ

วันพ่อแห่งชาติ 

 
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
 
     พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
         
     – บิดา (พ่อ)
     – ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
     – สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
 
     วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้ อยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อ่านเพิ่มเติม